หน้าแรก
บทความ
มหาวิทยาลัย
อันดับมหาวิทยาลัย
Thailand Education Ranking (TER)
QS World University Ranking
The Times Higher Education World University Ranking (THE)
SCImago Institutions Ranking (SIR)
หน้าแรก
อันดับมหาวิทยาลัย
Thailand Education Ranking (TER)
QS World University Ranking
The Times Higher Education World University Ranking (THE)
SCImago Institutions Ranking (SIR)
ข้อมูลมหาวิทยาลัย
แนะจัดอันดับมหาลัยไทยระวังขัดแย้ง
จุฬาฯ-มก.หนุน สกอ.จัดอันดับมหา’ลัยไทย แนะต้องพิจารณาเกณฑ์และแบ่งให้ชัด หวั่นเกิดความขัดแย้ง ชี้ควรเป็นการจัดระดับมากกว่าการจัดอันดับ พร้อมทุ่มงบฯ ให้มหาวิทยาลัยที่อยู่ในระดับต่ำด้วย
วันนี้ (18 เม.ย.) ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) เตรียมจัดอันดับมหาวิทยาลัยไทย โดยเลือกตัวชี้วัดของสถาบันจัดอันดับระดับโลกมาปรับใช้เป็นเกณฑ์ให้เข้ากับบริบทสังคมไทย ว่า ตนคิดว่าเป็นเรื่องดี เพราะขณะนี้ต้องยอมรับว่า ตัวชี้วัดของสถาบันจัดอันดับระดับโลกหลายตัวไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคม และประเทศชาติ แต่ทั้งนี้จะละเลยการจัดอันดับของสถาบันระดับโลกเลยก็คงไม่ได้ จะต้องติดตามดูด้วยว่าใช้ตัวชี้วัดใดบ้าง และเลือกนำมาใช้เฉพาะตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย รวมทั้งเกิดประโยชน์ที่สุด
“ผมมองว่าการจัดอันดับของ สกอ. น่าจะไม่ทำให้เกิดการได้เสียเปรียบ ซึ่งในอดีต มหาวิทยาลัยเก่าอาจได้เปรียบ แต่ปัจจุบันไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว เช่น ตัวชี้วัดจำนวนการตีพิมพ์บทความทางวิชาการ มหาวิทยาลัยใหม่ส่วนมากเป็นมหาวิทยาลัยเฉพาะทาง ก็จะมีจำนวนตีพิมพ์เรื่องนั้นๆ เป็นจำนวนมาก ส่วนมหาวิทยาลัยเก่าสอนทุกสาขา จึงทำให้การตีพิมพ์จำนวนน้อยกว่า ทั้งนี้ตัวชี้วัดดังกล่าวส่วนใหญ่จะเน้นวัดจากสาขาเฉพาะทาง โดยที่ไม่ได้ดูภาพรวม เป็นต้น” ศ.นพ.ภิรมย์ กล่าว
ด้าน ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มก.) กล่าวว่า ตนคิดว่า หากไม่ลำเอียงและตั้งใจจริง ถือเป็นสิ่งดี เพื่อให้เกิดการแข่งขันในการสร้างผลงาน ไม่ใช่ทำให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้ง หรือชิงดีชิงเด่นกัน ถ้ามีตัวชี้วัดอะไรที่แสดงถึงศักยภาพของไทย ตนก็เห็นด้วย แต่ต้องรอบคอบ มิฉะนั้นอาจเกิดความบาดหมางใจกันได้ ต้องระวังให้ดี ทั้งนี้เกณฑ์จัดอันดับอาจต้องแบ่งให้ชัดเจน และหลายกลุ่ม เช่น มหาวิทยาลัยเก่า มหาวิทยาลัยที่เน้นด้านเทคโนโลยี ฯลฯ นอกจากนี้ควรจัดเป็นระดับ เช่น ดีเยี่ยม ดี ปานกลาง ไม่ควรจัดเป็นลำดับที่ เพราะจะแข่งขันกันมาก และอาจเกิดปัญหา ขณะเดียวกันหากพบว่ามหาวิทยาลัยใดอยู่ในระดับต่ำ ก็ควรหาทางสนับสนุน ทั้งกำลังคน งบประมาณ รวมทั้งวิธีการบริหารต่างๆ ด้วย.
ที่มา : เดลินิวส์ออนไลน์
×
ดาวน์โหลด
เฉพาะสมาชิกเท่านั้น สมัครสมาชิก
คลิกที่นี่